เมนู

ออกอวด. กลิ่นเครื่องอบอาหารภัตเหล่านั้น ได้ตลบทั่วพระนครตั้งอยู่.
พระราชาทรงตรวจดูข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อนฉัน คิดว่า ' ไทยธรรมของมหาทุคตะ
จักมีสักเท่าไร ? เมื่อมหาทุคตะนี้ถวายไทยธรรมแล้ว จักนำเสด็จ
พระศาสดาไปยังเรือน ถวายอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน' ดังนี้ จึง
มาแล้ว, อาหารเห็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยเห็นเลย, เมื่อหม่อมฉันอยู่
ในที่นี้ มหาทุคตะต้องลำบากเหลือเกิน หม่อมฉันจะกลับ" ถวายบังคม
พระศาสดาแล้ว เสด็จหลีกไป.

บ้านของมหาทุคตะเต็มด้วยแก้ว 7 อย่าง


ฝ่ายท้าวสักกะ ถวายยาคูเป็นต้น ทรงอังคาสพระศาสดาโดยเคารพ.
แม้พระศาสดา ทรงทำภัตกิจแล้ว ทรงทำอนุโมทนา เสด็จลุกจากอาสนะ
หลีกไป. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาแก่มหาทุคตะ. เขารับบาตร ตามเสด็จ
พระศาสดา. ท้าวสักกะเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ที่ประตูเรือนของมหา
ทุคตะ ทรงแลดูอากาศแล้ว. ฝนแก้ว 7 ประการตกลงจากอากาศ
เต็มภาชนะทั้งหมดในเรือนของเขาแล้ว ยังล้นไปทั่วเรือน. ในเรือนของ
เขาไม่มีที่ว่าง ภรรยาของเขาได้จูงมือพวกเด็ก นำออกไปยืนอยู่ภายนอก.
เขาตามเสด็จพระศาสดาแล้วกลับมาเห็นเด็กข้างถนน จึงถามว่า "นี่
อะไร ?" ภรรยาของเขาตอบว่า " นาย เรือนของเราเต็มไปด้วยแก้ว 7
ประการทั่วทั้งหลัง, ไม่มีช่องจะเข้าไปได้." เขาคิดว่า "ทานของเรา
ให้ผลในวันนี้เอง" ดังนี้แล้วจึงไปสู่พระราชสำนัก ถวายบังคมพระราชา
แล้ว, เมื่อพระราชารับสั่งถามว่า " มาทำไม ?" จึงกราบทูลว่า

" พระเจ้า เรือนของข้าพระองค์ เต็มไปด้วยแก้ว 7 ประการ, ขอ
พระองค์ทรงถือเอาทรัพย์นั้นเถิด."
พระราชาทรงดำริว่า "น่าอัศจรรย์ ทานที่เขาถวายแด่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ถึงที่สุดวันนี้เอง" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะเขาว่า "เธอควรจะ
ได้อะไร ?"
มหาทุคตะ. ขอจงพระราชทานเกวียนพันเล่ม เพื่อต้องการนำ
ทรัพย์มา.
พระราชาทรงส่งเกวียนพันเล่มไป ให้นำทรัพย์มา เกลี่ยไว้ที่
พระลานหลวง. กองทรัพย์ได้เป็นกองสูงประมาณเท่าต้นตาล. พระราชา
รับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า "ในกรุงนี้ ใครมีทรัพย์
ถึงเท่านี้ไหม ?"
ชาวเมือง. ไม่มี พระเจ้าข้า.
พระราชา. จะควรทำอย่างไร ? แก่คนมีทรัพย์มากอย่างนั้น.
ชาวเมือง. ควรตั้งเป็นเศรษฐี พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว รับสั่งให้พระ-
ราชทานตำแหน่งเศรษฐี.
ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสบอกที่บ้านของเศรษฐีคนหนึ่งในกาลก่อน
แก่เขาแล้ว ตรัสว่า " เธอจงให้ถางพุ่มไม้ที่เกิดในที่นี้แล้ว ปลูกเรือน
อยู่เถิด." เมื่อเขาแผ้วถางที่นั้น ขุดพื้นที่ทำให้เรียบอยู่. หม้อทรัพย์ได้
ผุดขึ้นยัดเยียดกันและกัน. เมื่อเขากราบทูลแด่พระราชา, ท้าวเธอจึง
รับสั่งว่า "หม้อทรัพย์เกิดเพราะบุญของเธอนั่นเอง, เธอนั่นแหละจงถือ
เอาเถิด."

มหาทุคตะตายแล้วเกิดในกรุงสาวัตถี


เขาได้ปลูกเรือนแล้ว ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขตลอด 7 วัน. แม้เบื้องหน้าแต่นั้น เขาดำรงอยู่ บำเพ็ญบุญ
จนตลอดอายุ ในที่สุดอายุ ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ
สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิใน
ท้องธิดาคนโต ในตระกูลอุปัฏฐาก ของพระสารีบุตรเถระในกรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น มารดาบิดาของนาง ทราบความที่นางตั้งครรภ์ จึงได้
ให้เครื่องบริหารครรภ์. โดยสมัยอื่น นางเกิดแพ้ท้องเห็นปานนี้ว่า "โอ !
เราพึงถวายทานแก่ภิกษุ 500 รูป ตั้งต้นแต่พระธรรมเสนาบดี ด้วยรส
ปลาตะเพียนแล้ว นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด นั่งในที่สุดอาสนะ บริโภคภัตที่
เป็นเดนของภิกษุเหล่านั้น." นางบอกแก่มารดาบิดาแล้วก็ได้กระทำตาม
ประสงค์. ความแพ้ท้องระงับไปแล้ว. ต่อมาในงานมงคล 7 ครั้งแม้อื่น
จากนั้น. มารดาบิดาของนางเลี้ยงภิกษุ 500 รูป มีพระธรรมเสนาบดี
เถระเป็นประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนเหมือนกัน.
พึงทราบเรื่องทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องติสสกุมาร
นั้นแล. ก็แต่ว่า นี้เป็นผลแห่งการถวายรสปลาตะเพียนที่ถวายในกาลที่
เด็กนี้เป็นมหาทุคตะนั่นเอง.

ทารกออกบวชเป็นสามเณร


ก็ในวันตั้งชื่อ เมื่อมารดาของเด็กนั้น กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้สิกขาบททั้งหลายแก่ทาสของท่านเถิด" พระเถระจึงกล่าวว่า
"เด็กนี้ชื่ออะไร ?"